Blog

พลิกชีวิต ให้สุข ด้วยนวัตกรรม

พลิกชีวิต ให้สุข ด้วยนวัตกรรม

ด้ชนีความสุขโลก

ขณะนี้ประเทศต่างๆ หันมาให้ความใส่ใจกับความสุขและคุณภาพชีวิตของประชาชนมากกว่ามุ่งเน้นการเติบโตทางเศรษฐกิจเพียงด้านเดียว เนื่องจากจะทำให้เกิดการพัฒนาประเทศที่ไม่สมดุลและยั่งยืน ไม่สะท้อนความสุขและคุณภาพชีวิตของคนในสังคม และสร้างให้เกิดปัญหาด้านอื่นๆ ตามมาอีกมากมาย ทั้งปัญหาความเหสื่อมล้ำของคนในสังคมที่สูงขึ้น ปัญหาการทำลายธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมที่รุนแรงขึ้นจากการปล่อยมลพิษ ในอุตสาหกรรม ดังนั้น องค์การสหประชาชาติจึงเน้นให้ทุกประเทศมีการพัฒนาอย่างยั่งยืน (Sustainable Development Goals) ควบคู่กับการสร้างความสุขให้แก่คนในประเทศ และลดความเหลื่อมล้ำของคนในสังคม โดยกำหนดให้วันที่ 20 มีน่าคมของทุกปีเป็นวันความสุขสากล (The International Day of Happiness) และจัดทำ "รายงานความสุขโลก" (World Happiness Report) เพื่อวัดระดับความสุขของประชาชนใน 149 ประเทศทั่วโลกจาก 6 ปัจจัย ได้แก่

  • รายได้ต่อหัวประชากร (GDP per capita)
  • การสนับสนุนทางสังคม (Social support)
  • อายุเฉลี่ยการมีสุขภาพดี (Healthy life expectancy)
  • เสรีภาพการใช้ชีวิต (Freedom to make life choices)
  • ความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ในสังคม (Generosity)
  • การรับรู้ทุจริตคอร์รัปชัน (Perceptions of corruption)

โดยดัชนีความสุขในปี 2564 พบว่า คนทั่วโลกมีอารมณ์ด้านลบที่สูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญจากการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 อย่างรุนแรงทั่วโลก แต่ไม่ส่งผลเปลี่ยนแปลงอันดับความสุขโลกมากนัก โดยปีนี้ฟินแลนด์ยังเป็นประเทศที่คนมีความสุขที่สุดในโลกเป็นปีที่ 4ติดต่อกัน ส่วนประเทศไทยอยู่อันดับที่ 48 ซึ่งมีปัจจัยในระดับสูงเพียงความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ในสังคมที่มีการบริจาคการกุศลที่สูงกว่าค่าเฉลี่ยทั้งโลก ส่วนปัจจัยในระดับต่ำมีทั้งรายได้ต่อหัวของประชากร การทุจริตคอร์รัปชัน อายุเฉสี่ยการมีสุขภาพดีของคนในประเทศนอกจากนี้ ประทศไทยมีสัดส่วนหนี้ครัวเรือนต่อจีดีพีสูงที่สุดในกลุ่มประเทศกำลังพัฒนาถึงกว่าร้อยละ 90 สะท้อนให้เห็นปัญหาความเหสื่อมล้ำของรายได้ในสังคมที่เพิ่มขึ้นซึ่งจะส่งผลกระทบต่อกำลังซื้อและคุณภาพชีวิตที่เหลื่อมล้ำกันมากขึ้น และยังมีโครงสร้างของประชากรไทยที่เข้าสู่สังคมผู้สูงอายุอย่างสมบูรณ์ (Aged society) ที่มีสัดส่วนผู้สูงอายุในช่วง 60 ปีขึ้นไปถึงร้อยละ 20 ของจำนวนประชากรทั้งหมด ยิ่งตอกย้ำปัญหา ความเหสื่อมล้ำทางสังคมที่ตามมาอีกมากมาย ที่จะส่งผลต่อการมีคุณภาพชีวิตที่ดีของคนในสังคมไทย ทั้งความเหสื่อมล้ำทางการแพทย์ในการดูแลสุขภาพ ความเหสื่อมล้ำทางการศึกษาที่ไม่ทั่วถึง ความเหสื่อมล้ำทางรายได้ที่ไม่เพียงพ่อต่อการใช้จ่ายชีวิตประจำวัน

ด้ชนีความสุขโลก

นวัตกรรม...พลิกคุณภาพชีวิต ให้มีความสุข

"นวัตกรรม" เป็นทางออกที่จะสามารถนำมาพลิกคุณภาพชีวิตให้ดีขึ้น ช่วยอำนวยความสะดวก สบายในการใช้ชีวิตประจำวันโดยเฉพาะกลุ่มเปราบาง สร้างโอกาสเข้าถึงการศึกษาได้อย่างทั่วถึง แม้ในพื้นที่ห่างไกล เปิดโอกาสให้รับคำปรึกษาและบริการทางการแพทย์ได้รวดเร็ว สร้างให้กิดช่องทางรายได้สำหรับทุกช่วงวัย โดยเฉพาะการเพิ่มขึ้นของประชากรผู้สูงอายุ ทำให้เกิดระบบเศรษฐกิจสูงวัย (Silver Economy) ที่ถือเป็นโอกาสในการพัฒนานวัตกรรม ที่ตอบสนองความต้องการของกลุ่มผู้สูงวัยที่อายุเป็นเพียงตัวเลข ที่เรียกว่า Young Old หรือ YOLD ที่จะเป็นกลุ่มประชากรที่มีมากที่สุดในอนาคตอันใกล้ ขณะนี้ประเทศไทยมีการสร้างสรรค์ นวัตกรรมฝีมือคนไทยที่ขึ้นมาหลากหลายด้าน เช่น นวัตกรรมด้านการแพทย์ในการรักษาทางไกล นวัตกรรมสำหรับผู้พิการทางสายตาให้สามารถใช้ชีวิตได้เหมือนคนปกติ นวัตกรรมสำหรับผู้สูงวัย ให้สามารถพึ่งพาตัวเองได้ นวัตกรรมด้านการศึกษาที่ช่วยให้นักเรียนในพื้นที่ห่างไกลสามารถ รับการศึกษาได้อย่างเท่าเทียม ซึ่งจะสามารถนำมาการพลิกคุณภาพชีวิตของทุกคนให้ดีขึ้น สร้างให้เกิดความสุขในการใช้ชีวิต และช่วยลดความเหลื่อมล้ำที่มีอยู่ในสังคมไทย

นวัตกรรม...พลิกคุณภาพชีวิต ให้มีความสุข